ก่อนหน้าการค้นพบในครั้งนี้ หลุมดำทุกแห่งที่เรารู้จัก ต่างมีดาวฤกษ์โคจรอยู่คู่กัน ซึ่งดาวฤกษ์ดวงนั้น ๆ ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้นักดาราศาสตร์ตรวจพบหลุมดำได้
แต่หลุมดำโดดเดี่ยวที่ถูกพบครั้งนี้ มาจากการตรวจพบวัตถุปริศนาบางอย่าง เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ดวงไกลมาก ๆ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ Microlensing จากความโน้มถ่วงมหาศาล บิดโค้งแสงจากดาวฤกษ์จนสว่างขึ้นและเปลี่ยนตำแหน่งไปจากเดิมเป็นช่วงสั้น ๆ โดยมีชื่อเรียกปรากฏการณ์ในครั้งนี้ว่า ‘OGLE-2011-BLG-0462’ (อีกครั้งที่นักดาราศาสตร์ตั้งชื่อไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่)
ด้วยข้อมูลการสังเกตการณ์นานกว่า 11 ปี จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คณะนักดาราศาสตร์นำโดย Dr. Kailash Sahu จาก Space Telescope Science Institute ที่ดูแลการปฏิบัติการของกล้องฮับเบิล ได้ยืนยันว่าวัตถุปริศนาดังกล่าว เป็นหลุมดำที่ลอยล่องอยู่อย่างโดดเดี่ยวในกาแล็กซีทางช้างเผือก
นักดาราศาสตร์พบว่าหลุมดำแห่งนี้มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 7 เท่า (ช่วยยืนยันว่าเป็นหลุมดำ ไม่ใช่ดาวนิวตรอน) และอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 4,960 ปีแสง นับเป็นหลุมดำมวลดาวฤกษ์ หรือ Stellar-Mass Black Hole ซึ่งมีมวลน้อยกว่าหลุมดำมวลยิ่งยวด ที่มักถูกพบอยู่ใจกลางกาแล็กซีต่าง ๆ
ทั้งนี้ การยืนยันว่ามีหลุมดำโดดเดี่ยวอยู่จริงในเอกภพ อาจหมายความว่ายังมีหลุมดำอีกมากมาย ที่ยังรอการตรวจพบโดยนักดาราศาสตร์อยู่ในปัจจุบัน
ลองเข้ามาดูสินค้า 【พร้อมส่ง‼️🚚】ของแท้💯%Cool Water EDT 2ml/5ml/10ml น้ำหอมติดทนนาน น้ําหอมชาย ลดราคา 54% เหลือ ฿0 เท่านั้น! ซื้อได้ในแอป Shopee ตอนนี้เลย! https://s.shopee.co.th/60FNtZ8YXg
งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Astrophysical Journal เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา