เปิดตำนาน ไข่ฟาแบร์เช
เป็นไข่ธรรมดาก็คงไม่มีความสำคัญอะไรนะครับแต่ไข่ไข่ฟาแบร์เช นั้นมีที่มาที่ไปและมีตำนานความเป็นมาอย่างไรและไข่ฟาแบร์เช คือหนึ่งในงานตกแต่งอัญมณีรูปไข่ที่สร้างโดยห้องงานอัญมณีฟาแบร์เช แล้วไข่ชนิดนี้มีความสำคัญอย่างไรเรามีคำตอบมาให้คุณแล้วนะครับตามบน
ไข่ฟาแบร์เช (รัสเซีย: яйца Фаберже; อังกฤษ: Fabergé egg) คือหนึ่งในงานตกแต่งอัญมณีรูปไข่ที่สร้างโดยห้องงานอัญมณีฟาแบร์เช (House of Fabergé) ระหว่างปี ค.ศ. 1885 จนถึงปี ค.ศ. 1917 งานส่วนใหญ่เป็นงานชิ้นเล็กที่เหมาะกับการให้เป็นของขวัญสำหรับเทศกาลอีสเตอร์
ไข่เครมลินแห่งมอสโก ค.ศ. 1906.
นาฬิกาช่อลิลลี
แต่ไข่ฟาแบร์เชที่มีชื่อเสียงที่สุดที่สร้างโดยห้องงานอัญมณีเป็นงานชิ้นใหญ่ที่สร้างให้แก่ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 และ ซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ที่มีด้วยกันทั้งหมด 50 ชิ้น และ 43 ชิ้นได้ค้นพบแล้ว อีกสองชิ้นสร้างแล้วเสร็จ 1 ใบ อีกใบยังไม่เสร็จ ได้แก่ กลุ่มดาวสีน้ำเงินแห่งซาเรวิช และ คาเรเลียนเบิร์ช สำหรับปี ค.ศ. 1917
ไข่ใบใหญ่เจ็ดใบสร้างให้แก่นักอุตสาหกรรมอเล็กซานเดอร์ เคลช์แห่งมอสโก
ไข่ทำจากโลหะมีค่าหรือหินแข็งตกแต่งด้วยอัญมณีและการลงยา คำว่า “ไข่ฟาแบร์เช” มีความหมายเดียวกับความหรูหรา และถือกันว่าเป็นงานอัญมณีชั้นหนึ่ง “ไข่ฟาแบร์เช” ของราชวงศ์รัสเซียถือว่าเป็นกลุ่มงานศิลปะชิ้นเอก (objets d'art) ที่ได้รับการจ้างชิ้นสุดท้าย
ประวัติ
การสร้าง “ไข่ฟาแบร์เช” เริ่มขึ้นเมื่อซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 มีพระราชประสงค์ที่มอบไข่อีสเตอร์ให้แก่จักรพรรดินีมาเรีย เฟโดโรฟนา (Empress Maria Fedorovna) ในปี ค.ศ. 1885 เพื่ออาจจะในพระราชวโรกาสฉลองครอบรอบ 20 ปีของการเสกสมรสระหว่างทั้งสองพระองค์ เชื่อกันว่าซาร์อเล็กซานเดอร์ทรงได้ความคิดมาจากไข่ที่เป็นของเจ้าหญิงวิลเฮลมีน มารี แห่งเดนมาร์กผู้เป็นพระปิตุจฉาของพระจักรพรรดินี ที่เป็นวัตถุที่ต้องพระทัยจักรพรรดินีมาเรียมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
ไข่ใบแรกที่สร้างที่เรียกกันว่า “ไข่ไก่” ทำด้วยทอง โดยมีเปลือกเป็นทองคำเคลือบเอนนาเมลขาวใสที่เปิดขึ้นมาเป็นสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจสิ่งแรกที่เป็นไข่แดงทองคำสีเหลืองนวล ที่เปิดออกมาเป็นไก่ทองคำระบายหลากสี ที่เปิดได้ ภายในเป็นมงกุฎจักรพรรดิเพชรขนาดเล็กที่ภายในบรรจุจี้ทับทิม แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สองอย่างหลังนี้สูญหายไป
จักรพรรดินีมาเรียทรงพอพระทัยกับของขวัญเป็นอันมาก จนพระราชสวามีต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ฟาแบร์เชเป็น ‘ช่างทองผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นพิเศษแห่งจักรวรรดิ’ ปีต่อมาพระองค์ก็ทรงจ้างให้ฟาแบร์เชสร้างไข่ให้อีกใบหนึ่ง แต่หลังจากนั้น ปีเตอร์ คาร์ล ฟาแบร์เชผู้เป็นเจ้าของกิจการก็ได้รับอภิสิทธิ์ในการไข่อีสเตอร์สำหรับพระจักรพรรดิต่อมา
การออกแบบก็เพิ่มความซับซ้อนขึ้นทุกปี ตามธรรมเนียมของตระกูลฟาแบร์เช แม้แต่พระเจ้าซาร์ก็ไม่ทราบว่าไข่จะออกมาในรูปใด ข้อแม้อย่างเดียวของการสร้างงานคือต้องประกอบด้วยสิ่งที่สร้างความประหลาดใจแก่ผู้ดู
หลังจากการเสด็จสวรรคตของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ในปี ค.ศ. 1894 แล้ว ซาร์นิโคลัสที่ 2 พระราชโอรสก็ทรงมอบไข่ให้แก่ทั้งพระอัครมเหสีและพระราชชนนี
ในช่วงนี้ก็มิได้มีการสร้างไข่อยู่สองปี ในปี ค.ศ. 1904 และในปี ค.ศ. 1905 เพราะสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เมื่อแบบได้รับการอนุมัติจากฟาแบร์เชแล้ว ทีมช่างก็จะเริ่มทำงานประกอบไข่ขึ้น
ไข่อีสเตอร์สำหรับพระจักรพรรดิสร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือให้แก่ฟาแบร์เช ผู้รับงานสร้างไข่ให้แก่ลูกค้าส่วนตัวที่เลือกสรรบ้างไม่กี่คน ที่รวมทั้งดัชเชสแห่งมาร์ลบะระห์, ตระกูลโนเบล, ตระกูลรอธไชลด์ และตระกูลยูซูพอฟ