Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565

ตำนาน ‘ช้างแคระ’ มีสายพันธุ์ไทยจริงหรือไม่?

เปิดตำนาน ‘ช้างแคระ’ มีสายพันธุ์ไทยจริงหรือไม่?

เชื่อว่าหลายคนไม่รู้ว่าช้างแคระคืออะไร และยิ่งไม่รู้ว่าในไทยก็เคยมีช้างแคระอาศัยอยู่ด้วย แต่เพราะพวกมันมีน้อยซะจนแม้แต่นักวิชาการด้านสัตว์ป่าก็มีข้อมูลของพวกมันน้อยมาก ผมเลยรวบรวมเรื่องช้างแคระเอาไว้เพื่อให้ได้รู้จักช้างชนิดนี้กันมากขึ้นอีกนิด .. อาจจะยาวหน่อย แต่ก็พยายามย่อๆ มาให้อ่านกัน

ช้างแคระเป็นช้างเอเซียพันธุ์เล็ก มันมีขนาดตัวที่เตี้ยและก็คือตัวเล็กกว่าช้างป่าทั่วไป จึงถูกเรียกว่า ช้างแคระ ช้างค่อม หรือ ช้างแกลบ จัดเป็นสัตว์ป่าหายากชนิดหนึ่ง เป็นช้างที่เคยพบอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย บริเวณตอนเหนือของทะเลสาบสงขลา แต่นั้นก็หลายสิบปีก่อน ปัจจุบันไม่ได้พบช้างชนิดนี้มานานแล้ว จึงเข้าใจว่าช้างแคระน่าจะสูญพันธุ์ไปนานมากกว่า 60 ปี

ลักษณะของช้างแคระ

ช้างแคระเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และด้วยความหายากและขาดผู้ที่สนใจศึกษาช้างแคระอย่างจริงจัง จึงทำให้ไม่มีนักวิชาการเคยจับตัวช้างหรือเก็บตัวอย่างของมันมาศึกษาเลย จึงทำให้ความรู้ในเรื่องลักษณะของช้างแคระเป็นเพียงการประมวลผลจากคำบอกเล่าและตามข้อความที่เขียนไว้ในบันทึกต่างๆ เท่านั้น

นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล (ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการอนุรักษ์สัตว์ป่าไทย) เคยมาสำรวจบริเวณทางตอนเหนือของทะเลสาบสงขลา เมื่อหลายสิบปีก่อน จนได้พบช้างแคระที่คลองนางเรียบ ท่านได้กล่าวถึงช้างเอาไว้ว่า “เป็นช้างค่อนข้างเล็กไปสักหน่อย แต่ยังโตกว่าควายบ้านมากไม่ใช่เล็กอย่างควายบ้าน หรือเล็กกว่าควายบ้านอย่างที่ใครๆ เขาชอบนำมาเล่าสู่กันฟัง”

ลุงกลับ ชาวบ้านที่ระโนด ซึ่งเคยพบเห็นช้างแคระมาก่อน เล่าให้ฟังตรงกันว่า “ช้างแคระเป็นช้างขนาดเล็กที่มีลักษณะเหมือนช้างป่าทั่วไป แต่ก็ยังตัวใหญ่กว่าควาย”

นิวัฒ ใฝขาว อดีตพรานป่าแห่งเทือกเขาโต๊ะเทพ ได้เล่าจากประสบการณ์ที่ได้พบกับช้างแคระมาแล้วถึง 6 ครั้ง “ครั้งแรกที่เห็นก็นึกว่าเป็นลูกช้าง ตัวมันเล็กคล้ายๆ วัว พุงมันป่องๆ มีงายาวประมาณ 1 ฟุต”

จากที่ นิวัฒ ใฝขาว เล่าเพิ่มเติม ช้างแคระมีใบหูค่อนข้างเล็ก หูมีขนสีแดง มีเสียงร้อง กิ๊กๆ ไม่ร้องเหมือนช้างป่าขนาดใหญ่ มีนิสัยดุร้ายและยังไม่กลัวคน หากเจอคนมันจะวิ่งไล่ทันที แต่วิ่งซิกแซกไม่เป็น มันชอบอาศัยอยู่ตามป่าอ้อ ป่าแขมและชายป่า หากินรวมกันเป็นฝูงเหมือนช้าป่าทั่วไป

ขนาดของช้างแคระจากที่นายแพทย์บุญส่งได้ฟังจากคำบอกเล่าของชาวบ้าน “ช้างแคระมีขนาดความสูงราวๆ 6 ฟุต หรือ 6 ฟุตเศษเล็กน้อย” ซึ่งตรงกับข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้าโครงการติดตามศึกษา “ช้างแคระ” ป่าต้นน้ำเทพาของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่ว่า “ช้างแคระมีขนาดความสูงประมาณ 170 เซนติเมตร

อย่างไรก็ตาม เอนก นาวิกมูล ได้ระบุว่ามีรายงานข่าวการพบช้างแคระซึ่งอยู่ในหนังสือพิมพ์ “พิมพ์ไทย” ฉบับวันที่ 5,6,16 มิถุนายน 2506 โดยพาดหัวข่าวว่า “พบช้างแคระสูง 90 ซม. ชาวบ้านกินต่างหมู นายกสั่งห้ามด่วน”

ช้างแคระบอร์เนียว ที่พบได้เฉพาะบนเกาะบอร์เนียวเท่านั้น เชื่อว่าเป็นช้างที่อาจคล้ายช้างแคระไทยมากที่สุด แต่ตอนนี้พวกมันก็ใกล้สูญพันธุ์

ในด้านการนำเอาช้างแคระมาใช้งาน เคยมีคนมีพยายามจับมาเลี้ยงและฝึกเพื่อใช้งาน แต่ใช้อะไรไม่ค่อยได้ เพราะเป็นช้างขนาดเล็กมาก กำลังน้อยและยังตายง่าย ว่ากันว่าโอกาสรอดเพียง 10%

“รายงานสุดท้ายที่พบช้างแคระฝูงสุดท้ายในไทยคือบริเวณป่าไร่เหนือ ครอบคลุมพื้นที่ของกิ่งอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา และอำเภคสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งตรงกับปี 2538” หลังจากรายงานนี้ได้มีการจัดตั้งทีมค้นหา แต่ก็ยังไม่สามารถพบตัวจริง ได้รับแค่คำบอกเล่าจากชาวบ้านเท่านั้น ..แต่ก็ยังถือเป็นข่าวดี เพราะพวกมันอาจหลงเหลืออยู่จริงๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม

ช้างแคระเป็นสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของลำดับProboscidea

ซึ่งผ่านกระบวนการของการ พัฒนาการแบบ allopatricบนเกาะต่างๆ จึงมีวิวัฒนาการขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก (ประมาณ 1.5–2.3 เมตร (4 ฟุต 11 ใน – 7 ฟุต 7 นิ้ว))

เมื่อเปรียบเทียบกับบรรพบุรุษในทันที

ช้างแคระเป็นตัวอย่างหนึ่งของภาวะแคระแกร็นซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกขนาดใหญ่

(โดยปกติคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ที่เกาะตั้งรกรากอยู่ มีวิวัฒนาการรูปแบบแคระ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่ขาดแคลนทรัพยากร และการคัดเลือกเพื่อให้เจริญเติบโตเต็มที่และการสืบพันธุ์ ประชากรช้างเอเชีย สมัยใหม่บางตัว ยังได้รับการลดขนาด บนเกาะต่างๆ ให้น้อยลง ส่งผลให้จำนวนช้างแคระ มีจำนวน เพิ่มขึ้นและลดลง

Palaeoloxodon falconeriโครงกระดูกหล่อ
ซากดึกดำบรรพ์ของช้างแคระ ที่ถูกค้นพบบนเกาะเมดิเตอร์เรเนียนของไซปรัส มอลตา (ที่Għar Dalam ) ครีต (ในChania ที่Vamos และ ในถ้ำใต้น้ำตอนนี้บนชายฝั่ง) ซิซิลีซาร์ดิเนีย หมู่เกาะคิคลาดีสและ หมู่เกาะโดเดคานีส เกาะอื่น ๆ และที่พบช้างแคระStegodon ได้แก่สุลาเวสี เกาะฟลอเรส ติมอร์เกาะอื่น ๆ ของLesser Sundasและชวากลาง ; เกาะเหล่านี้ทั้งหมดอยู่ในอินโดนีเซีย หมู่เกาะแชนเนลแห่งแคลิฟอร์เนียเคยเป็นที่อยู่ช้างสายพันธุ์แคระที่สืบเชื้อสายมาจากแมมมอธ

ในขณะที่จำนวนประชากรของแมมมอธสภาพแวดล้อม ขนาดเล็ก เคยพบบนเกาะเซนต์พอล ; แมมมอธที่มีอยู่บนเกาะ Wrangelไม่ถือว่าเป็นช้างแคระอีกต่อไป

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman fishmanman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip