🌉เทคนิคสุดทึ่ง! ‘Great Zimbabwe’ โบราณสถานสุดยิ่งใหญ่ ที่ใช้หินวางเรียงซ้อนกันจนกลายเป็นเมืองขนาดมหึมา
ค้นหา
เกรท ซิมบับเว (Great Zimbabwe)
หนึ่งในเมืองที่เคยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในแอฟริกาตอนใต้เมื่อราวศตวรรษที่ 11-15 เมืองหินขนาดใหญ่นี้ถูกเชื่อว่าเป็นพระราชวังของกษัตริย์ หรือ สถานที่สำคัญมากๆ ของอาณาจักรซิมบับเว ที่ชาวโซนา
ชนพื้นเมืองของซิมบับเวอาศัยอยู่และสร้างมันขึ้นมาได้อย่างยิ่งใหญ่
เมืองแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ว่า เป็นเมืองที่สร้างโดยไม่มีการใช้ปูนเพื่อยึดกับก้อนหินเข้าด้วยกันเลยแม้แต่ก้อนเดียว หรือการนำหินแกรนิตที่ถูกแต่งขอบให้เป็นสี่เหลี่ยมมาวางเรียงซ้อนกัน เป็นกำแพงสูง บางก็ถูกจัดเรียงร่วมกับก้อนหินขนาดใหญ่ เป็นป้อมปราการสูงกว่า 10 เมตร ซึ่งแต่ละก้อนนี้มีอายุไปต่ำกว่า 800 ปี
จนกระทั่งศตวรรษที่ 16 นักสำรวจชาวยุโรปก็พบกับเมืองหินแห่งนี้และเขียนไว้ในบันทึกการเดินทางของพวกเขา ต่อมาได้ในได้มีการสำรวจเมืองแห่งนี้อีกหลายครั้ง นักโบราณคดีเชื่อว่าปัจจุบันมีการค้นพบเมืองหินแห่งนี้ เพียง 2 เปอร์เซ็นต์ของเมืองทั้งหมดที่เคยมีอยู่ของเกรท ซิมบับเว แม้ดูจากเปอร์เซ็นต์ที่พบนั้นเป็นตัวเลขที่น้อย แต่ซากของเมืองหินที่พบในปัจจุบันก็มีพื้นที่กว้างกว่า 1,800 เอเคอร์ ราว 730 ไร่ เลยทีเดียว จัดว่าใหญ่โตมโหฬารมากๆ
แน่นอนว่าโบราณวัตถุจากเมืองหินขนาดใหญ่ที่ถูกนำไปขายทอดตลาดมืดเป็นจำนวนมาก แม้จะไม่มีข้อมูลว่าเมืองแห่งนี้ได้ล่มสลายไปได้อย่างไร นักโบราณคดีบางคนเชื่อว่าเมืองแห่งนี้เป็นเมืองหลวงของซิมบับเวในช่วงเวลานั้น แต่ด้วยปัจจัยบางอย่างเมืองทำให้ต้องย้ายผู้คนไปจากเมืองแห่งนี้
แต่ Great Zimbabwe ได้รับความเสียหายอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ในซิมบับเวนั้นหันมาทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ จนกระทั่งในปี 1980 ได้มีการเข้ามาดูแลและบูรณะเมืองแห่งนี้อย่างจริงจัง และในปี 1987 เมืองแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ซึ่งหลังจากนั้นภาครัฐบาลได้ทำการเปิดมหาวิทยาลัยชื่อ ‘Great Zimbabwe’ ขึ้นในบริเวณใกล้ๆ เพื่อเกิดความหวงแหนประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของพวกเขาเอาไว้ด้วย