Ibn Khaldoun Statue and Square, Mohandesin, Cairo |
หรือรู้จักกันสั้นๆ ในนามของอิบนุคอลดูน
เป็นนักฟิกฮฺ รัฐบุรุษ นักสังคมวิทยา และนักประวัติศาสตร์อันโด่งดังแห่งโลกมุสลิม ท่านเกิดในวันที่ 1 รอมฎอน ฮ.ศ. 732 (5 พฤษภาคม ค.ศ. 1332) บรรพบุรุษของท่านเป็นชาวเยเมนที่อพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่เซวิลล์ (Seville) ประเทศสเปน และรับราชการอยู่ที่นั่น ครอบครัวของท่านก็ได้อพยพไปยังเมืองตูนิส (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตูนีเซีย) ก่อนที่มุสลิมสเปนจะสูญเสียเซวิลล์ให้แก่ชาวคริสเตียนเพียงไม่กี่ปี ...
อิบนุคอลดูนเกิดที่เมืองตูนิส และได้รับการศึกษาที่นั่น ท่านได้รับการศึกษาในวิชาอัลกุรอาน อัลหะดีษ นิติศาสตร์ ภาษาอาหรับ ไวยากรณ์ และกวีนิพนธ์จากนักวิชาการที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น ต่อจากนั้นท่านก็ได้ศึกษารหัสยวิทยา (mysticism) และปรัชญาจากนักวิชาการชาวสเปน
ในปี ค.ศ. 1352 ขณะที่มีอายุ 20 ปี อิบนุคอลดูนเข้ารับราชการในราชวงศ์หัฟศิด..
แต่ในปี ค.ศ. 1354 ท่านก็จากบ้านเกิดของท่านเดินทางไปยังเมืองเฟซ (Fez) เพื่อรับใช้สุลต่าน อบูอินาน และเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ที่เมืองเฟซท่านได้ศึกษากับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงหลายคน การรับราชการของท่านกับสุลต่านอบูอินานก็ไม่ยาวนานเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะองค์สุลต่านมีความระแวงในตัวท่าน ในปี 1357 ท่านถูกจำคุก แต่ในปี 1358 เมื่อ อบูอินานเสียชีวิต ท่านจึงได้รับการปล่อยตัว อัลหะสัน อิบนุ อุมัรซึ่งเป็นวิเซียร์ขององค์สุลต่านก็คืนตำแหน่งให้ท่าน ท่านจึงมีโอกาสรับใช้สุลต่านอบูสาเล็มซึ่งเป็นรัชทายาทของสุลต่านอบูอินานต่อไป
Statue of Ibn Khaldun in Tunis |
ชื่อเสียงของอิบนุคอลดูนในแกรนาดาเริ่มมีมากขึ้น จนอิบนุคอฏิบ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีของสุลต่านมุหัมมัดที่ 5 อิจฉา เขาจึงวางแผนให้อิบนุคอลดูนออกจากแกรนาดา ในปี ค.ศ. 1365 อิบนุคอลดูนได้รับการเชิญชวนจากสุลต่านอบูอับดุลลอฮฺให้เดินทางไปยังโบกี้(Bougie) ท่านได้ตอบรับ ต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งโบกี้
ในอัลมุกอดดิมะฮฺ อิบนุคอลดูน กล่าวว่าท่านได้ก่อตั้งศาสตร์แขนงใหม่นั่นก็คือศาสตร์ว่าด้วยอารยธรรม (Ilm al-Umran) ขึ้น ในหนังสือเล่มดังกล่าวนี้ อิบนุ คอลดูนได้พูดถึงแนวคิดของท่านเกี่ยวกับการรวมกลุ่มของมนุษย์ สังคมในระดับต่าง ๆ ตลอดจนการเกิดและการล่มสลายของจักรวรรดิ นักวิชาการบางท่านถือว่าอิบนุคอลดูนเป็นบิดาแห่งวิชาสังคมวิทยา (Sociology) ทั้งนี้เพราะท่านเป็นนักวิชาการคนแรกที่พยายามก่อตั้งกฎทางสังคมขึ้น
ในด้านประวัติศาสตร์ อิบนุคอลดูนให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียด ก่อนยุคของท่านนั้น ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบทอดต่อ ๆ กันมา ซึ่งไม่แตกต่างจากตำนานและนิทานมากนัก ทั้งนี้เพราะนักประวัติศาสตร์ไม่ได้สอบสวนเรื่องราวนั้น ๆ ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่ บางครั้งเรื่องราวดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกินความจริง และบางครั้งก็ไม่ได้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ อิบนุคอลดูนเป็นผู้ที่ทำให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่แท้จริงขึ้น โดยการกำหนดกฎบางประการให้กับการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้เราสามารถแยกประวัติศาสตร์จากตำนานหรือนิทานปรัมปราได้
ในปี ค.ศ. 1387 อิบนุคอลดูนเดินทางไปประกอบพิธีหัจญ์ ณ นครมักกะฮฺ และเดินทางไปยังอียิปต์เพื่อทำการสอนจนมีชื่อเสียงโด่งดัง ไม่นานหลังจากนั้นท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษามัซฮับมาลิกีย์ แต่ก็ถูกถอดถอน และแต่งตั้งสลับกันไปมาไม่น้อยกว่า 5 ครั้ง อียิปต์เป็นสถานที่ซึ่งท่านใช้เวลาอาศัยอยู่มากที่สุด อิบนุคอลดูนเสียชีวิตในวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1406 และถูกฝังที่สุสานแห่งหนึ่งนอกเมืองไคโร...
เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวคิดของอิบนุคอลดูนนั้นมีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของนักวิชาการตะวันตกในยุคหลัง ๆ อย่างเช่น Machiavelli, Vico, Comte, Durkheim, Tonnies, Splengler, Gumplowicz, Oppenheimer และ Wirth นั่นก็เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องทำการศึกษาต่อไปว่านักวิชาการเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากอิบนุคอลดูนหรือไม่?
นอกจากกิตาบอัลอิบาร และอัลมุก็อดดิมะฮฺแล้ว อิบนุคอลดูนยังมีผลงานอีกหลายชิ้น แต่ผลงานเหล่านั้นส่วนใหญ่สูญหายไป มีเพียงหนังสือ ลุบัล อัลมุหัสสัล ฟี อุศูลุลฟิกฮฺ ซึ่งเป็นหนังสืออรรถาธิบายงานเขียนของฟัครุดดีน อัรรอซีย์เท่านั้นที่ตกทอดมาถึงมือเราในปัจจุบัน..
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manman