"เวรตะไล"คำๆ นี้มาจากไหน..?
"ตะไล" เป็นคำที่ไม่ค่อยได้ยินบ่อยนัก สำหรับบางพื้นที่ แต่ถ้าสมัยก่อน แล้วจะหมายถึง "ขนมถ้วย" ที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ สมัยก่อนจะเรียก "ขนมตะไล" อันเนื่องมาจาก ถ้วยที่ใส่ขนม เราเรียกว่าถ้วยตะไล
“ถ้วยตะไล” ต้นกำเนิดมาจากถ้วยน้ำจิ้มของชาวจีน ถ้วยมีสีขาวล้วนไม่มีลาย มีการผลิตขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดลำปางปี 2508
โดย นายซิมหยู แซ่ฉิน โรงงานธนบดีสกุล มีการวงสีน้ำเงินตรงขอบปากถ้วยด้านบนและตรงกลางถ้วยด้านใน และด้านข้างของตัวถ้วย แต่เดิมวาด “ลายนกบิน” เรียกว่า “ถ้วยตราลาย”
แต่ต่อมาออกเสียงเพี้ยนเป็น “ถ้วยตะไล” คนไทยได้นำถ้วยตะไลบรรจุ ขนมถ้วย แล้วนำไปนึ่ง สีขาวของกะทิ ตัดกับสีน้ำเงินตรงขอบปากถ้วยทำให้น่ารับประทาน
ส่วนตะไล อีกความหมายหนึ่งคือ ที่เราเรียกจุดตะไล
จะเป็นวงกลมๆ แล้วหมุนลอยขึ้นฟ้าแบบไร้ทิศทาง คนจุดก็ต้องคอยวิ่งหนี จุดที่ไหนก็แตกฮือที่นั่น อาจเป็นที่มาของคำด่า "เวรตะไล"
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากตัวละคร นางอากาศ ตะไล
อังกาศตไล หรือ อากาศตะไล หรือ นางสุรสา ( อังกฤษ: Surasa) เป็นชื่อตัวละครในเรื่องรามายณะของอินเดียและรามเกียรติ์ของไทย ในเรื่องรามายณะของอินเดียเป็นเทวี
ซึ่งเป็นมารดาของเหล่านาคและดูแลมหาสมุทรก่อนถึงกรุงลงกาและเป็นสตรีหนึ่งในสามคนที่รักษากรุงลงกา
รักษาด่านทางอากาศ และเป็นหนึ่งในเจ็ดกองลาดตระเวนตรวจการกรุงลงกา เมื่อหนุมานมาถวายแหวนให้แก่นางสีดาที่สวนขวัญในกรุงลงกา อากาศตะไลได้รบกับหนุมาน และพ่ายแพ้ถูกหนุมานสังหารถึงแก่ความตาย มีความเป็นได้ว่าจะถูก เรียกเป็นคำด่า เหมือน ยักษ์ปักหลั่น ยักษ์ขมูขี เป็นยักษ์เวรตะไล
เจาะเวลาหาอดีต