ปริศนาลึกลับมนุษย์โบราณเคลื่อนย้าย ‘หินสีน้ำเงิน’ The Blue Stones' of Stonehenge ของสโตนเฮนจ์ มาจากสถานที่ที่อยู่ไกลกว่า 750 กิโลเมตรมาได้อย่างไร
นี่ก็ยังเป็นคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้
สิ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้แต่ตั้งสมมติฐานกันไปต่างๆนานาแต่มันจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากเสียว่าหินสีน้ำเงินโบร่ำโบราณบานบุรีขนาดใหญ่โตมโหฬารที่อยู่ไกลกว่า 750 กิโลเมตรมาได้อย่างไรคนโบราณยุคหินซึ่งไม่มีเครื่องมืออะไรเลยเขาใช้อะไรเคลื่อนย้ายมา มันยังเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้เรามาดูบทความนี้กันเลยดีกว่านะครับ
‘หินสีน้ำเงิน’ ของสโตนเฮนจ์ มาจากสถานที่ที่อยู่ไกลกว่า 750 กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่ามนุษย์โบราณย้ายหินขนาด 6 ตันและยาว 5 เมตรนี้มาได้อย่างไร แต่มันชี้ให้เห็นว่าหินเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ชาวยุคหินใหม่จึงพยายามอย่างหนักเพื่อพาหินยักษ์มาที่อยู่ในปัจจุบัน
สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกซึ่งเชื่อกันว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 5,000 ปีแที่แล้ว โดยมีการปรับเปลี่ยนหลายครั้งในช่วง 2,000 ปีแรก มันประกอบไปด้วยหินขนาดใหญ่มากวางเป็นวงอยู่รอบนอกและส่วนหนึ่งวางอยู่ใจกลาง ซึ่งเรียกกันว่า ‘แท่นบูชา’
การมีอยู่ของหินเหล่านี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สับสนมาอย่างยาวนานว่า มนุษย์ยุคหินใหม่สร้างสโตนเฮนจ์ขึ้นมาทำไม? และที่สำคัญพวกเขาสร้างขึ้นมาได้อย่างไร? มีการเสนอทฤษฎีจำนวนมาก บางอันก็ดูจะเป็นไปได้ แต่บางอันก็ดูไม่น่าเป็นไปได้เลย
แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ผ่านมาเผยให้เห็นว่าหินบางส่วนของสโตนเฮนจ์ ถูกนำมาจากสถานที่ที่ห่างออกไปราว 25 กิโลเมตรใกล้กับเมืองมาร์ลโบโร และบางส่วนก็ถูกนำมาจากทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวลส์ แต่สิ่งที่เป็นปริศานาที่สุดก็คือ หินแท่นบูชาที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบมานานหลายสิบปี แต่ก็ไร้วี่แวว
“หินแท่นบูชาเป็นหินทรายที่ประกอบด้วยเม็ดทรายเล็ก ๆ คล้ายกับเม็ดทรายบนชายหาดแต่ถูกกดให้แบนราบ และเม็ดทรายบางส่วนเป็นแร่ธาตุที่มียูเรเนียม ซึ่งเมื่อเวลาทางธรณีวิทยาผ่านไป ยูเรเนียมจะสลายตัวเป็นตะกั่ว” Anthony Clarke ผู้เขียนรายงานจากมหาวิทยาลัยเตอร์ติน กล่าว
ซึ่งหมายความว่าหากเราคำนวณอัตราการสลายตัวย้อนกลับไป หินเหล่านี้สามารถบอกเวลาที่มันเกิดขึ้น และบอกถึงองค์ประกอบของมันได้ ดังนั้นหากนักวิทยาศาสตร์ตามหา ‘พื้นที่’ ที่มีองค์ประกอบที่ตรงกับหินได้ พวกเขาก็บอกได้ว่าหินเหล่านี้มาจากที่ใด และพวกเขาก็พบผลลัพธ์ที่ตามหา
“มันเหมือนกับบาร์โค้ด ซึ่งเป็นชุดตัวเลขต่อเนื่องที่สามารถเปรียบเทียบทางสถิติได้กับต้นกำเนิดของหินทั่วบริเตนและไอร์แลนด์ เมื่อเราทำแบบนั้น ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นหินของสก็อตแลนด์” Clarke กล่าว
การตามหานั้นเป็นเรื่องลำบากและต้องใช้ความอดทน ทีมวิจัยได้ตรวจสอบพื้นที่แหล่งหินทั่วสหราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า 10 ปี และได้ตัดสถานที่ที่ไม่ตรงกับองค์ประกอบของหินไปหลายสิบแห่ง จนในที่สุดพวกเขาก็พบว่าหินแท่นบูชามาจากแอ่ง Orcadian ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสก็อตแลนด์ ห่างจากสโตนเฮนจ์ถึง 750 กิโลเมตร
ถ้างั้นแล้วมนุษยยุคหินใหม่เคลื่อนย้ายมันมาได้อย่างไร? คำถามนี้ยังคงเป็นปริศนาต่อไป บางคนเสนอว่าธารน้ำแข็งอาจพัดหินเหล่านี้มาก่อนแล้ว ไม่ก็ขนย้ายมาทางบก ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทีมวิจัยจึงได้เสนอแนวคิดใหม่ นั่นคือ ทางเรือ เนื่องจากมีหลักฐานว่ามนุษย์โบราณมีการขนส่งทางทะเลกันอย่างแพร่หลาย
แต่แน่นอนว่ายังต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงอย่างนั้นสโตนเฮนจ์ก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ยุคหินใหม่มีปฏิสัมพันธ์กว่าที่คิด ด้วยความร่วมมือกันถึงที่สุด พวกเขาจึงสามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ของโลกนี้ขึ้นมาได้สำเร็จ
“ดูเหมือนว่าโลกยุคโบราณอาจเชื่อมโยงกันมากกว่าที่เราคิด” Clarke สรุป