Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2566

รู้หรือไม่? อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยเกือบจะได้เป็นประธานาธิบดีอิสราเอล


รู้หรือไม่? อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยเกือบจะได้เป็นประธานาธิบดีอิสราเอล

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และเดวิด เบนกูเรียน นายกรัฐมนตรีคนแรกของ อิสราเอล (ภาพจาก Wikimedia)


อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก จากผลงานการคิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก ทำให้เขาขึ้นชั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่รู้หรือไม่ครั้งว่าหนึ่ง ไอน์สไตน์ได้รับข้อเสนอให้ก้าวสู่วงการการเมือง และเกือบจะได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศเกิดใหม่ อย่าง “อิสราเอล” มาแล้ว

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ได้มีการก่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นใน ค.ศ. 1948 จากการสนับสนุนของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีนายกรัฐมนตรีคนแรก คือ เดวิด เบน-กูเรียน (David Ben-Gurion) และประธานาธิบดีคนแรก คือ ชาอิม ไวซ์มัน (Chaim Weizman)

วันที่ 9 พฤศจิกายน 1952 ไวซ์มันเสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน ทำให้ เบน-กูเรียนต้องหาบุคคลที่เหมาะสมและได้รับการยอมรับจากประชาชนมาเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป ซึ่งคนที่เขาหมายตาไว้ก็คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นั่นเอง
เหตุที่เป็นไอน์สไตน์ เพราะเบน-กูเรียนเห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องมีเชื้อสายยิว บวกกับชื่อเสียงและความสามารถของไอน์สไตน์ก็เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก ด้วยเหตุผลทุกข้อประกอบกัน ย่อมทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศเกิดใหม่อย่างอิสราเอลเป็นที่ยอมรับในประชาคมโลกมากขึ้น เพราะขณะนั้นอิสราเอลยังไม่ได้รับการยอมรับทางการทูตจากหลายประเทศ เหตุจากกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับชาวปาเลสไตน์และประเทศอาหรับข้างเคียงที่เป็นศัตรูกับพวกเขา

เบน-กูเรียนติดต่อไอน์สไตน์ผ่าน แอ็บบา อีแบน (Abba Eban) เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ไอน์สไตน์อาศัยอยู่ (ไอน์สไตน์เป็นชาวเยอรมัน เชื้อสายยิว แต่ลี้ภัยออกนอกประเทศในช่วงที่พรรคนาซีปกครองเยอรมนี และมีนโยบายกดขี่ชาวยิว ภายหลังเขาเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน) ให้ทาบทามไอน์สไตน์มารับตำแหน่งประธานาธิบดีอิสราเอล ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐในเชิงสัญลักษณ์ ไม่ต้องบริหารประเทศ เพราะมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลทำหน้าที่อยู่แล้ว

ข้อเสนอของเบน-กูเรียนมีเงื่อนไขว่า หากไอน์สไตน์ตกลงยอมรับข้อเสนอ จะต้องสละสัญชาติอเมริกันและเปลี่ยนมาถือสัญชาติอิสราเอล รวมทั้งต้องย้ายไปอยู่อิสราเอล และแม้จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่รัฐบาลอิสราเอลก็จะยังคงอนุญาตให้ไอน์สไตน์มีส่วนร่วมต่อวงการวิทยาศาสตร์เหมือนเดิม และจะสนับสนุนงานวิจัยต่าง ๆ ของเขาด้วย


อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน เช่น อายุมาก เพราะตอนได้รับข้อเสนอ เขามีอายุ 73 ปีแล้ว ซึ่งในความเห็นของไอน์สไตน์คือตัวเองแก่เกินไปที่จะเข้าสู่แวดวงการเมือง ประการที่สอง ไอน์สไตน์ลงหลักปักฐานที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1933 นับเป็นเวลาเกือบ 20 ปี จึงเกิดความผูกพันกับประเทศนี้ การต้องย้ายไปอาศัยในประเทศอื่นที่ไม่มีความผูกพันเป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบอย่างมาก

ประการสุดท้าย ไอน์สไตน์คิดว่าตัวเขาไม่เหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน ไอน์สไตน์มองว่ายังมีคนที่เหมาะสมกว่าอีกหลายคน ที่ควรได้รับโอกาสเข้ามาทำงานการเมืองในตำแหน่งนี้ ดังคำกล่าวของเขาว่า

“ผมรู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณอย่างยิ่งต่อข้อเสนอของรัฐบาลอิสราเอล แต่ผมต้องขอปฏิเสธและขออภัยเป็นอย่างยิ่ง ผมขาดทั้งความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารจัดการคน”

เมื่อไอน์สไตน์ปฏิเสธข้อเสนอ ตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่จึงตกเป็นของ ยิตซัก เบน-ซวี (Yitzhak Ben-Zvi) นักการเมืองอิสราเอลผู้มีความสามารถอีกคนหนึ่ง ซึ่งนั่งเก้าอี้ประธานาธิบดีคนที่ 2 ของอิสราเอลเกือบ 11 ปี ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 1952 ถึงเดือนเมษายน ปี 1963

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman fishmanman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip