ค้นพบ Sinomacrops bondei เทอโรซอร์ชนิดใหม่ สัตว์ที่เป็นการรวมตัวของ ‘กบ-ค้างคาว-มังกร’ ไว้ในร่างเดียวกัน
เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเหนือบริเวณที่จะกลายเป็นภาคเหนือของจีนในอีก 160 ล้านปีข้างหน้า มีบางสิ่งพุ่งทะยานระหว่างลำต้นของต้นเฟิร์น
เพื่อจับพวกแมลงปอโบราณ มันร่อนลงพร้อมกับมื้อเย็นของมัน สัตว์ตาโตน่ารักชนิดนี้เป็นสายพันธุ์เทอโรซอร์ (Pterosaur) ที่เพิ่งค้นพบใหม่ มันมีชื่อว่า ซิโนมาครอป (Sinomacrops bondei) มันเป็นคำตอบของวิวัฒนาการอย่างเห็นได้ชัดสำหรับคำถามที่ว่า "จะเป็นอย่างไรถ้ากบ ที่บินได้เหมือนค้างคาวและคล้ายกับมังกร"
สัตว์ตัวนี้แตกต่างจากลูกพี่ลูกน้องที่ใหญ่กว่าของมันมาก มันมีปากที่ยาวซึ่งครั้งหนึ่งเคยสร้างเงาขนาดใหญ่เหนือภูมิประเทศในยุคมีโซโซอิก “ซิโนมาครอป” มีขนาดเท่านกกระจอกเท่านั้น และมีใบหน้าที่เหมือนกับสุนัขพันธุ์ปั๊กมากกว่าสัตว์ร้ายบนท้องฟ้า แต่เจ้าสุนัขปั๊กตัวน้อยยังคงเป็นเทอโรซอร์
ทีมนักวิจัยนานาชาติซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จีนและญี่ปุ่น ได้ตรวจสอบโครงกระดูกที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยซึ่งพบในหินในมณฑลเหอเป่ยของประเทศจีน ด้วยความช่วยเหลือของการถ่ายภาพเอกซเรย์เฉพาะทาง ทีมงานจึงสามารถทราบได้ว่าโครงกระดูกของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้น ถูกประกอบเข้าด้วยกันอย่างไร โดยระบุว่าเป็นสกุลใหม่และสายพันธุ์ใหม่ของเทอโรซอร์
เทอโรซอร์ในยุคหลังๆ หลายตัวน่ากลัว มีขนาดใหญ่ ส่วนมากจะมีสภาพไม่ต่างจากนกกระสากินเนื้อขนาดเท่ายีราฟที่คอยจับไดโนเสาร์ตัวเล็กกิน
แต่สัตว์จำพวกแอนโรกนาธิด (anurognathids ) เช่น ซิโนมาครอป มีลักษณะและรูปร่างเหมือนตุ๊กตา ร่างเล็กๆ ของมันถูกเก็บไว้บนที่สูงด้วยปีกกว้างที่เป็นพังผืดคู่หนึ่ง สิ้นสุดด้วยหางเล็กๆ ที่ลากไปมาระหว่างเท้าคู่เล็กๆ มันมีดวงตาโตมองออกมาจากใบหน้าที่กลมโตและปากกว้าง
ซิโนมาครอป ก็มีขนด้วย จริงๆ แล้ว แอนโรกนาธิดและกลุ่ม เทอโรซอร์ ชนิดอื่น ๆ อีกมากมายดูเหมือนจะมี “Pycnofibers” ซึ่งเป็นกระจุกซึ่งเป็นชนิดของฉนวนที่ไม่ใช่ขนหรือขนนก
ในบางสายพันธุ์ของ แอนโรกนาธิด ชนิดอื่นๆ โครงสร้างคล้ายขนเหล่านี้สร้างขนแปรงบริเวณปาก คล้ายกับขนยาวที่นกเช่น นกตบยุงหางยาว มีขนที่ขอบปากของพวกมัน ขนแปรงดังกล่าวอาจช่วยให้แมลงบินเข้าไปในปากของมัน ด้วยดวงตาขนาดยักษ์ เชื่อกันว่าแอนโรกนาธิดเป็นสัตว์กกลางคืนหรือค้างคาวยุคจูราสสิกที่ไล่จับแมลงในสภาพแสงน้อย โดยพื้นฐานแล้ว ซิโนมาครอป เป็นขีปนาวุธขนาดเล็กที่ไล่ล่าแมลงในป่ายุคจูราสสิก
Megan Jacobs นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ในรัฐเท็กซัส ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ กล่าวว่าการค้นพบนี้ค่อนข้างน่าตื่นเต้น ฟอสซิลเทอโรซอร์นั้นหายากเป็นพิเศษ เนื่องจากกระดูกกลวงบางๆ ของพวกมันไม่ได้เก็บรักษาไว้อย่างง่ายดายเหมือนกระดูกจากสัตว์อื่นๆ
และสปีชีส์ใหม่นี้ มีความน่าสนใจเป็นพิเศษเพราะเป็นกลุ่มที่รู้จักจากฟอสซิลที่มีอยู่อย่างจำกัด ซิโนมาครอป สามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สร้างภาพที่ดีขึ้นว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นอย่างไร
เธอยังประหลาดใจกับรูปร่างของศีรษะของ ซิโนมาครอป “หัวมันกลมมากและมีดวงตากลมโตที่หันไปข้างหน้า เทอโรซอร์ส่วนใหญ่ในยุคนี้มีปากที่ยาวและเต็มไปด้วยฟันเล็กๆ”
Jacobs เปรียบเทอโรซอร์ตัวใหม่กับเจ้า Porgs จาก Star Wars : EP 8 The Last Jedi ที่หลายคนอาจจะไม่ชอบเพราะบทหักหน้าแฟนๆ มากไป แต่ยังมีความน่ารักของเจ้า Porgs ซึ่งมีความคล้ายคลึงอย่างน่าทึ่งที่เธอไม่ได้สังเกตเห็นเพียงคนเดียว
ซากดึกดำบรรพ์นี้มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ ตามคำบอกของ Jacobs เพราะมันมาจากยุคจูราสสิคตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เทอโรซอร์เริ่มกระจายตัว และวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบที่ไม่ธรรมดามากมายที่พวกมันสร้างขึ้นในช่วงปลายยุคครีเทเชียส
“การค้นพบเทอโรซอร์ในยุคนี้ทำให้เราเข้าใจถึงวิธีที่พวกมันเริ่มปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงถึงระดับของโครงกระดูกของพวกมัน” Jacob อธิบาย