ซอรอร์นิโธเลสทิส (Saurornitholestes) เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็กอยู่ในวงศ์โดรมีโอซอร์ (dromaeosaurid) ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตาเผยว่า มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของไดโนเสาร์วงศ์โดรมีโอซอร์ ชื่อซอรอร์นิโธเลสทิส แลงสโตนี (Saurornitholestes langstoni) อายุ 76 ล้านปี มีสภาพเกือบสมบูรณ์ พบในอุทยานไดโนเสาร์แห่งรัฐ ตั้งอยู่ทางใต้ของรัฐอัลเบอร์ตา ในแคนาดา
ฟอสซิลซอรอร์นิโธเลสทิส แลงสโตนี มีโครงกระดูกทั้งหมดยกเว้นหาง ซึ่งถูกธรรมชาติเก็บรักษาไว้อย่างดี
ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของไดโนเสาร์กลุ่มเธอโรพอด (Theropod) อีกทั้งนักบรรพชีวินวิทยาได้ครุ่นคิดเกี่ยวกับซอรอร์นิโธเลสทิส แลงสโตนี มายาวนานถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเวโลซีแร็พเตอร์ (Velociraptor) ที่มาจากมองโกเลีย นักวิจัยบางรายถึงกับตั้งชื่อว่า เวโลซีแร็พเตอร์ แลงสโตนี (Velociraptor langstoni) มาจนถึงปัจจุบัน
ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของไดโนเสาร์กลุ่มเธอโรพอด (Theropod) อีกทั้งนักบรรพชีวินวิทยาได้ครุ่นคิดเกี่ยวกับซอรอร์นิโธเลสทิส แลงสโตนี มายาวนานถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเวโลซีแร็พเตอร์ (Velociraptor) ที่มาจากมองโกเลีย นักวิจัยบางรายถึงกับตั้งชื่อว่า เวโลซีแร็พเตอร์ แลงสโตนี (Velociraptor langstoni) มาจนถึงปัจจุบัน
การวิจัยใหม่มุ่งไปที่กะโหลกศีรษะ บ่งชี้ว่าซอรอร์นิโธเลสทิสจากอเมริกาเหนือมีกะโหลกสั้นและลึกกว่าเวโลซีแร็พเตอร์ ปากด้านหน้าของกะโหลกจะพบฟันแบนมีสันนูนสูง อาจใช้เพื่อไซ้ขน แต่ฟันหลายซี่เป็นแบบเดียวกับเวโลซีแร็พเตอร์และโดรมีโอซอร์ชนิดอื่นๆ
นอกจากนี้ ข้อมูลทางกายวิภาคใหม่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าโดรมีโอซอร์ในอเมริกาเหนือ แยกเชื้อสายจากโดรมีโอซอร์ในเอเชีย แม้ว่าพวกมันจะมีบรรพบุรุษร่วมกันก็ตาม สิ่งนี้เปลี่ยนความเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายข้ามทวีปของสัตว์เหล่านี้และจะช่วยให้เข้าใจวิวัฒนาการของไดโนเสาร์