Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พระยาพิชัยดาบหัก


ความเป็นมาของชื่อ "พระยาพิชัยดาบหัก"
ในปี พ.ศ. 2311 พม่าได้ยกทัพมาอีก 1 หมื่นคน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพร้อมด้วยหมื่นไวยวรนาถได้เข้าโจมตีจนแตกพ่าย และได้มีการสู้รบปราบก๊กต่าง ๆ อีกหลายคราว เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จกลับกรุงธนบุรี โปรดตั้งเจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็น "พระยาสีหราชเดโช" มีตำแหน่งเป็นนายทหารเอกราชองครักษ์ตามเดิม สุดท้ายเมื่อปราบก๊กพระเจ้าฝางได้แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบให้ทหารของพระองค์โดยทั่วหน้า ส่วนพระยาสีหราชเดโช (จ้อย หรือ ทองดี ฟันขาว) นั้น ได้โปรดเกล้าฯ บำเหน็จความชอบให้เป็นพระยาพิชัยปกครองเมืองพิชัยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนแต่เยาว์วัย.....

ในปี พ.ศ. 2313 - 2316 ได้เกิดการสู้รบกับกองทัพพม่าอีกหลายคราว และทุกคราวที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป ก็สร้างความอัปยศอดสูแก่แม่ทัพนายกองเป็นทวีคูณ พอสิ้นฤดูฝนปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 โปสุพลายกกองทัพมาหมายตีเมืองพิชัยอีก "ศึกครั้งนี้พระยาพิชัยจับดาบสองมือคาดด้าย ออกไล่ฟันแทงพม่าอย่างชุลมุน ณ สมรภูมิบริเวณ วัดเอกา จน
เมื่อพระยาพิชัยเสียการทรงตัว ก็ได้ใช้ดาบข้างขวาพยุงตัวไว้ จนดาบข้างขวาหักเป็นสองท่อน" กองทัพโปสุพลาก็แตกพ่ายกลับไป เมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 7 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2316 (ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2316)
 "วีรกรรม" ของ "พระยาพิชัยดาบหัก" มากระตุ้นต่อมความรักชาติว่าท่านสู้ศึกกับพม่าอย่างห้าวหาญ ประมาณว่าเลื้อดรักชาติแรงดีแท้ แม้ดาบจะหักท่านก็ยังแกว่งดาบต่อสู้ และแล้วเรื่องราวพระยาพิชัยดาบหักก็หายไปจากประวัติศาสตร์ดื้อๆ (ในตำราเรียน) นี่คือตัวอย่างการบรรจุเพียงเสี้ยวหนึงของประวัติศาสตร์ลงในตำราเรียนที่มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความรักชาติ(รวมไปถึงการเกลียดชังพม่าด้วย)เพียงอย่างเดียว มีคนรักชาติและภูมิใจในชาติไทยมากมายในกรณีของพระยาพิชัยดาบหัก
แต่เมื่อสาวให้ลึกลงไปอีกถึงเรื่องราวของพระยาพิชัยดาบหักทหารเอกของพระเจ้าตากสินแล้ว บางท่านอาจจะรู้สึกสะท้อนใจก็ได้ ผมจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ ก็แล้วกัน จากนั้นผมจะวกกลับมาที่ประเด็กหลัก พระยา
พิชัยดาบหักชื่อเล่นว่าจ้อยเกิดที่อุตรดิตถ์ โตมาเป็นนักมวยตระเวณชกมวยตามงานวัดต่างๆ จนขึ้นชื่อไปถึงเมืองตาก และได้ชกมวยต่อหน้าเจ้าเมืองตาก(สิน) จนเจ้าเมืองประทับใจจึงให้ช่วยรับราชการให้ไปดูแลเมืองพิชัย ครั้นเมื่อพม่าบุกรุกมาท่านก็ต่อสู้รักษาแผ่นดินจนดาบหัก ปี 2310 เมื่อพม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีฯ พระยาตาก(สิน)ถูกเรียกตัวเข้ากรุง พระยาพิชัยก็ติดตามพระยาตาก(สิน)เข้าไปต้านพม่าในกรุงด้วย ท้ายที่สุดต้านพม่าไม่อยู่พระยาตาก(สิน)ก็ตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมพม่าพร้อมด้วยทหารจำนวนหนึ่งออกไปทางชลบุรี หนึ่งในทหารที่ตีฝ่าวงล้อมออกไปก็มีพระยาพิชัยดาบหักไปด้วย พระยาพิชัยกลายเป็นทหารคู่ใจของพระยาตาก(สิน) เที่ยวตีหัวเมืองต่างๆ เพื่อรวบรวมไพร่พล ตั้งแต่ชลบุรี ตราด และก่อนจะทุบหม้อข้าวเข้าตีจันทบุรีที่เป็นเมืองใหญ่ คนทีเข้าไปพังประตูเมืองจันทบุรีคนแรกก็คือพระยาพิชัยดาบหักท่านนี้ แล้วยึดเมืองจันทบุรีได้ ก่อนจะย้อนกลับมาต่อตีกับพม่าที่อยุธยาและได้รับชัยชนะเหนือพม่าประกาศอิสระภาพให้แก่กรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าตาก(สิน)ครองธนบุรีอยู่สิบห้าปี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ทำการปราบดาภิเษก(พูดภาษาชาวบ้านก็คือล้มราชบัลลังก์นั่นแหละ)ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระเจ้าตากสิน โดยประหารชีวิตพระเจ้าตากสิน(พงศาวดารฉบับพระพนรัตน์กล่าวตัดหัวไม่ใช่ทุบด้วยท่อนจันทร์ แล้วใส่ "หีบศพ" ไม่ใช่พระบรมโกศเยี่ยงกษัตริย์ แล้วนำไป"ฌาปนกิจ" ไม่ใช่พระราชทานพระเพลิงที่วัดบางยี่เรือใต้) นอกจากพระเจ้าตากสินที่ถูกประหารชีวิตแล้ว ทหารเอกของพระเจ้าตากสินอีกร้อยกว่าคนก็ถูกประหารด้วย รวมไปถึงพระยาพิชัยดาบหัก กล่าวกันว่า เจ้าพระยามหาษัตริย์ศึก(รัชกาลที่1)ทรงพระกรุณาถามว่าจะรับราชการช่วยงานพระองค์ไหม? เพราะเห็นว่าพระยาพิชัยมีฝีมือในการรบ พระยาพิชัยตอบว่าเขาจงรักภักดีต่อพระยาตากสินพระองค์เดียว เจ้าพระยามหากษัตริย์ฯ จึงสั่งให้ทหารนำพระยาพิชัยไปประหาร!
เรื่องราวชีวิตของพระยาพิชัยดาบหักน้อยคนนักที่จะรู้จุดจบของท่าน ท่านต่อสู้กับทหารพม่าเคียงบ่าเคียงไหล่พระเจ้าตากสินมามากศึกและกอบกู้เอกราชไทยคืนมาได้ ท้ายที่สุดก็มาจบชีวิตด้วยน้ำมือคนไทยด้วยกันเอง

ตำราประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับพระยาพิชัยดาบหักไม่ได้เอ่ยถึงจุดจบของท่าน เพราะดูเหมือนว่าจุดจบของท่านจะเป็นการ "หักมุม" ประวัติศาตร์ของไทย และในนามผู้รักชาติและเป็นส่วนสำคัญที่กอบกู้เอกราชคืนจากพม่าได้แต่มาก็จบชีวิตลงเอาง่ายๆ

ถวายชีวิตเป็นราชพลี

พระปรางค์วัดราชคฤห์วรวิหาร สถานที่บรรจุอัฐิของพระยาพิชัยดาบหัก
เมื่อปี พ.ศ. 2325 หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษด้วยการทุบด้วยท่อนจันท์สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่งด้วย
พระยาพิชัยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตนเป็นการถวายชีวิตตายตามสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช...
หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์....
แห่งราชวงศ์จักรีเฉลิมพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระองค์จึงได้มีรับสั่งให้สร้างพระปรางค์นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ วัดราชคฤห์วรวิหาร ซึ่งพระปรางค์นี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบันพระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ รวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป.....
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย manman

รายการบล็อกของฉัน

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman fishmanman
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip